เล่าสู่กันฟัง

เล่าสู่กันฟัง

NEXT=>>
          ในหน้านี้ ก็จะนำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับปลาแฟนซีคาร์พ ทั้งข่าวในประเทศและต่างประเทศ มาเล่าสู่กันฟัง บางบทความก็แปลมาจากหนังสือ NICHIRIN , RINKO ฯลฯ หรือ koilover ท่านใด มีอะไรเด็ดๆจะเล่าสู่กันฟังก็ e-mail มาเล่า ทางเราจะขอตรวจก่อนว่าน่าสนใจหรือไม่ ขอให้ช่วย เป็นกำลังใจกับทีมงานที่ตั้งใจทำงานกันอย่างเต็มที่ด้วยครับ
เริ่มต้นเรียนรู้ปลาแฟนซีคาร์พ
ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของปลาแฟนซีคาร์พกับสีสันของบ่อ
          การสร้างบ่อเป็นงานยากสำหรับมือใหม่ แต่เมื่อได้ลงมือทำจนสำเร็จแล้วจะทำให้พวกเขามีความสุขมากทีเดียว โดยทั่วไปแล้ว ผู้เลี้ยงมือใหม่มักจะอยากปล่อยปลาลงในบ่อให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กันทุกคน ดังนั้นพวกเขาจึงมักที่จะรีบซื้อปลา เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจมากที่สุด และคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
          พวกเขาควรจะซื้อปลาตามที่ใจชอบ แต่เมื่อได้เห็นปลาในบ่อที่โชว์เอาไว้ตามฟาร์มต่างๆ พวกเขาก็มักจะเกิดความไม่แน่ใจ ว่าเขาควรจะเลือกซื้อปลาแบบไหนกันแน่ เนื่องจากว่าปลาแฟนซีคาร์พมีมากมายหลายชนิด คนเรามีความชอบในปลาแฟนซีคาร์พที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย สีสันที่หลากหลายของปลาแฟนซีคาร์พแต่ละตัว สีสันของบ่อนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาแฟนซีคาร์พที่รวมกันอยู่ในบ่อ ความสวยงามหรือว่าสีสันของความหลากหลายของความเป็นปลาแฟนซีคาร์พจะห็นได้จากการจัดแต่งบ่อของเจ้าของบ่อนั้นๆ ดังนั้น พวกเขาจึงเลือกซื้อปลาแฟนซีคาร์พแตกต่างกันไปตามความชอบเพื่อให้สีสันในบ่อเป็นไปตามความต้องการของตน
           อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้เกินไปนัก เพราะมันเป็นสิ่งที่ดีที่จะได้ปลาแฟนซีคาร์พตามที่เราชอบ จำนวนของปลาแฟนซีคาร์พที่ซื้อควรอยู่บนพื้นฐานของจำนวนปลาที่จะเลี้ยงได้ในบ่อ
           ข้อแนะนำสำหรับมือใหม่ที่จะซื้อปลาก็คือ ควรเริ่มต้นด้วยปลา 1-2 ปี เพราะว่าราคาไม่แพงมาก จะได้ไม่เกิดความเสียดาย ถ้าซื้อปลามาแล้วไม่ถูกใจ

ตารางข้างล่างนี้จะเป็นมาตรฐานของจำนวนปลาต่อบ่อแบ่งจากปลาอายุ 1-2 ปี

ขนาดของบ่อ
ความลึกของน้ำ
ขนาดของปลา
จำนวนปลาต่อบ่อ
5 ตารางเมตร
30 ซ.ม.
15-20 ซ.ม.
1-15 ตัว
15-20 ตารางเมตร
50 ซ.ม.
15-20 ซ.ม.
30-40 ตัว
15-20 ตารางเมตร
50 ซ.ม.
30 ซ.ม.
10-15 ตัว
40-50 ตารางเมตร
60-100 ซ.ม.
30 ซ.ม.
25-45 ตัว
40-50 ตารางเมตร
60-100 ซ.ม.
45 ซ.ม.
10-15 ตัว

จำนวนปลาควรจะไม่เกินจากที่กล่าวไว้เพื่อไม่ให้ปลาแน่นบ่อจนเกินไป
          อีกสูตรที่จะบอกสู่กันทราบก็เป็นการคำนวนแบบอยากเลี้ยงให้ได้ใหญ่สะใจ แต่ดูแล้วก็อาจจะบอกว่า มันเกินไปหน่อยหรือป่าว แต่ถ้ามองกันจริงๆ ในแง่ของการเลี้ยงแบบให้ปลาสมบรูณ์ และถ้าเป็นปลาแฟนซีคาร์พ ที่มีโอกาสเป็นแชมป์ก็น่าที่จะคุ้มอยู่เหมือนกัน
สูตรคำนวณ

วัดความยาวของปลาทุกตัวรวมกัน (หน่วยเป็นนิ้ว) แล้วยกกำลัง 2 เมื่อได้แล้ว คุณด้วย 2 หารด้วย 231
ถ้าเอาจำนวนที่หารแล้วมาคูณด้วย 10 จะเป็นปริมาณน้ำต่ำสุดที่จะใช้เลี้ยง (หน่วยเป็นแกลลอน)
ถ้าเอาจำนวนที่หารแล้วมาคูณด้วย 20 จะเป็นปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่จะเลี้ยงเผื่อปลาโต
(หน่วยเป็นแกลลอน)

ตัวอย่าง
ปลาแฟนซีคาร์พ 10 ตัว ยาวตัวละ 10 นิ้ว = 100 นิ้ว ยกกำลังสอง = 10,000
10,000 คูณด้วย 2 = 20,000
20,000 หารด้วย 231 = 43.29
43.29 คูณด้วย 10 = 432.9 แกลลอน (เป็นปริมาณน้ำต่ำสุดที่จะใช้เลี้ยงหน่วยเป็นแกลลอน)
43.29 คูณด้วย 20 = 865.8 แกลลอน (เป็นปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่จะเลี้ยงเผื่อปลาโตหน่วยเป็นแกลลอน)

* 1 แกลลอน = 20 ลิตร

* 1 ตัน = 50 แกลลอน
          ตอนนี้เราก็พอที่จะรู้แล้วว่าปลาแฟนซีคาร์พ ที่อยู่ในบ่อเราแน่นหรือพอดีกับบ่อเลี้ยง ส่วนผู้ที่คิดจะเริ่มทำบ่อใหม่ก็คงจะได้แนวทางการคำนวนว่าจะเลี้ยงกี่ตัวดี หรือว่าจะเลี้ยงแบบเอาแค่มีบ่อมีปลาว่ายก็เพลิดเพลินแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะบอกเพราะเห็นมามาก บ่อที่ทำบางบ่อก็ทาสีที่ญี่ปุ่นบ่อทาทีสีก็มี แต่ส่วนใหญ่อยู่ในร่มเพราะตะใคร่ไม่ขึ้น สีบ่อกับการเลือกปลาแฟนซีคาร์พลงบ่อก็ดูจะต้องให้ไปกันได้ด้วย จะยกตัวอย่างให้ดู
          โดยทั่วไปแล้ว ในบ่อจะประกอบด้วยโคฮากุ โชวา ซันเก้ เป็นหลัก โดยมีปลาแฟนซีคาร์พชนิดอื่นๆ เป็นส่วนเสริม ดังรูปภาพ 3 รูปข้างล่างนี้ แสดงให้เห็นถึงสีสันของบ่อ และเราจะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสีสันของบ่อถ้าจำนวนของปลาชนิดเดียวกันมีจำนวนเพิ่มขึ้น

รูป 1

          มีโคฮากุ 4 ตัวเป็นหลัก และประกอบไปด้วยซันเก้ 2 ตัว โชวา 2 ตัว ชิโร-เบคโกะ, ชูซุย, และโอกอน อย่างละ 1 ตัว เมื่อจำนวนของโคฮากุเพิ่มขึ้น สีแดงก็จะเด่นมากซึ่งจะทำให้บ่อมีสีสันสดใส สีของบ่อมีสีดำ ดังนั้นสีเหลืองของโอกอนจึงสดใส เด่นชัด สวยงามมาก และส่วนเสริมคือ สีขาวของชิโร-เบคโกะกับสีดำของบ่อก็ตัดกันเป็นจุดเด่นของบ่อนี้


รูป 2
          มีซันเก้ 4 ตัว, โคฮากุ 2 ตัว, โชวา 2 ตัว และชิโร-อุทจึริ, โงชิกิ, แพลตทินั่มกินริน, คาวาริโมโน (โอชิบะชิกุเระ) อย่างละ 1 ตัว บ่อมีสีเขียวอ่อนทำให้ปลาเด่นมาก และทำให้ภาพของบ่อโดยรวมมีสีสันสดใส

รูป 3
          มีโชวา 4 ตัว โคฮากุ 2 ตัว ซันเก้ 2 ตัว และชิโร-อุทจึริ, โอกอน, คุจากุ, กิน-มัตจึบะ อย่างละ 1 ตัว บ่อแบบนี้มีโชวามากสุดก็เลยต้องมีสีแดงให้มากขึ้น แต่ก็จะมีปลาหลายชนิด ทำให้บ่อดูมีชีวิตชีวาและสดใส
ในการคัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ เรามักจะมุ่งความสนใจไปที่การคัดเลือกแม่พันธุ์
แล้วตัวพ่อพันธุ์นั้นมีความสำคัญหรือไม่
          การเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พเพื่อให้เป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่ดีนั้น เราเลี้ยงแม่พันธุ์เพื่อให้มีรูปทรงที่สมบูรณ์ ส่วนพ่อพันธุ์เลี้ยงให้มีคุณภาพที่ดี เราจึงเลือกแม่พันธุ์ที่ตัวใหญ่มีรูปทรงที่ดี และเลือกพ่อพันธุ์ที่มีสีแดงและสีดำที่ดี ในวงการเพาะปลาแฟนซีคาร์พในปัจจุบันนี้คุณภาพมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นพ่อพันธุ์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
Tategoi นั้น คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของจำนวนลูกปลาทั้งหมด
          Tategoi คือปลาแฟนซีคาร์พที่ผู้เพาะพันธุ์คิดว่าจะต้องสวยมากขึ้นในอนาคต อัตราส่วนของ Tategoi ก็ขึ้นกับชนิด, ขนาดและปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นในกรณีของฟาร์ม Dainichi ได้มีการคัดปลา 3 ครั้งจนกระทั่งได้ขนาด 15 ซม. ก็จะเก็บได้ประมาณ 100 ตัวจากลูกปลา 10,000 ตัว เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะได้ 1% ในกรณีที่เป็นชนิดฮิการิโมโน ก็จะได้ 2,000-3,000 ตัวที่จะเก็บไว้เป็น Tategoi จากลูกปลา 10,000 ตัว ก็จะเท่ากับ 20-30% ทั้งนี้อัตราส่วนของ Tategoi ก็ขึ้นอยู่กับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ด้วย
จุดสูงสุดของความสวยของปลาแฟนซีคาร์พแต่ละตัวนั้นมีหรือไม่ และจะลดลงหรือคงอยู่ตลอดไป
          ตราบเท่าที่ปลาแฟนซีคาร์พคงยังมีอยู่ ความสวยงามจะไม่ยั่งยืนแน่นอน มีจุดสูงสุดและบางครั้งก็ลดลงหลังจากที่ขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่เพื่อจะทำให้ความสวยงามของปลานั้นอยู่ได้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ คนรักปลาแฟนซีคาร์พทุกคน ไม่เพียงแต่ผู้ค้าส่งเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคนเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พทุกคนก็ได้พยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะรักษาความสวยงามนั้นไว้
ทำไมปลาแฟนซีคาร์พเพศเมียถึงแพงกว่าเพศผู้
          คุณค่าของปลาแฟนซีคาร์พตัดสินได้จากความสวยงาม, ขนาด และความหายาก เมื่อเป็นดังนี้แล้วปลาแฟนซีคาร์พตัวที่สวยกว่าย่อมแพงกว่า ตัวที่ใหญ่กว่าย่อมแพงกว่า ตัวที่หายากกว่าย่อมแพงกว่า ปลาแฟนซีคาร์พเพศเมียโตเร็วและใหญ่กว่าเพศผู้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปลาแฟนซีคาร์พเพศเมียถึงได้รับความนิยมมากกว่าและก็ย่อมแพงกว่า ปลาแฟนซีคาร์พที่ได้รางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนในงานประกวดจะเลือกปลาที่ตัวใหญ่ ดังนั้นปลาแฟนซีคาร์พเพศเมีย จึงมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน
ปลาแฟนซีคาร์พเพศผู้ไม่สามารถเป็น Tategoi จริงหรือไม่
          Tategoi เป็นคำที่ใช้ในกลุ่มผู้เพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พ ผู้เพาะพันธุ์เลือกปลาแฟนซีคาร์พเพื่อตัดสินใจว่าตัวไหนจะนำไปเลี้ยงในบ่อน้ำเขียวก็จะเรียกปลาแฟนซีคาร์พเหล่านั้นว่า Tategoi ปลาแฟนซีคาร์พเพศผู้จะเห็นอนาคตได้เร็วกว่า เพราะว่าเพียง 2-3 ปีความสวยก็จะปรากฏ ขณะที่ปลาแฟนซีคาร์พเพศเมียต้องใช้เวลานานกว่านั้นถึงจะรู้ได้ว่าปลาจะมีความสวยในอนาคตหรือไม่ อาจใช้เวลา 4-5 ปี บางครั้งอาจนานถึง 8 ปี ดังนั้น คำว่า Tategoi ก็จะหมายถึงเพศเมียเป็นส่วนใหญ่
ปลาแฟนซีคาร์พเขาก็อยากอยู่กับเรานานๆ
          คนเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พทุกคนต้องเคยเลี้ยงแล้วตาย ไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้ปลาแฟนซีคาร์พที่อยู่กับเราอยู่กัยเราได้นานๆและดูแลเขาได้เมื่อเขาไม่สบาย คนเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พมือใหม่ส่วนใหญ่มักจะสนใจเรื่องของการดูปลาก่อนการดูแลปลา คือจะสนใจแต่ว่าตัวนี้เรียกอะไร สนใจเรื่องสีและลายดีเป็นอย่างไร มองข้ามว่าปลาแฟนซีคาร์พมีอะไรเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น น้ำ บ่อ อาหาร ฯลฯ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ปลาแฟนซีคาร์พอยู่กับเราได้นานๆ และไม่เป็นโรคตายอย่างน้อยเราก็ภูมิใจว่าเราเอาเขามาอยู่แล้วเขาอยู่อย่างเป็นสุข เคยเห็นคนที่ซื้อปลาป่วยไปเลี้ยง ถามว่าทำไมเขาถึงซื้อไปเลี้ยงเขาบอกว่าเขาสงสารปลา ลองถ้าปลาตัวนั้นพูดได้ปลาคงตอบอย่างที่เราคิดว่าปลาตัวนั้นจะพูดว่าอะไรแน่นอน เห็นหรือยังว่าการดูปลาเป็นกับการดูแลปลาเป็นนั้นต่างกับอย่างไร

          เริ่มที่บ่อเป็นอันดับแรก เพราะคนที่จะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พต้องมีที่สร้างบ่อ จะเล็กหรือใหญ่แล้วแต่สะดวก บ่อส่วนใหญ่ก็จะเป็นบ่อปูนเมื่อสร้างเสร็จต้องแช่น้ำแล้วใส่น้ำส้มสายชู 1 ขวด ต่อน้ำ 2 ตันแช่ไว้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ แล้วล้างบ่ออีกเที่ยวใส่น้ำไม่ต้องใส่น้ำส้มสายชูเดินระบบกรองทิ้งไว้อีก 2 อาทิตย์ ถึงจะเอาปลาลงเลี้ยงได้ ทำไมถึงต้องพูดเรื่องบ่อไม่เห็นเกี่ยวกับโรคเลย แต่ถ้าเตรียมบ่อไม่ดีปลาก็ตายก่อนจะเป็นโรคตายเสียอีก เดียวจะไปทะเลาะกับคนขายว่าเอาปลาป่วยมาขายเลี้ยงแล้วตาย อาการแพ้ปูนตัวและครีบจะเปื่อย ไม่ว่ายน้ำครีบจะหุบตัวมีสีแดงตามเกล็ด ให้รีบนำปลามาแช่ยาเหลืองหรือคลอเตตร้า จนกว่าอาการจะดีขึ้น และล้างบ่อเลี้ยงโดยทำตามวิธีข้างต้น

          บ่อกรองก็ไม่น้อยหน้ากว่าบ่อเลี้ยง เพราะถ้าระบบกรองไม่ดีพอก็ทำให้คุณภาพไม่ดีตามไปด้วย ปลาแฟนซีคาร์พถึงจะได้ชื่อว่าทนแต่ถ้าต้องอยู่ในน้ำไม่ดีก็เกิดโรคได้เช่นกัน ฉนั้นบ่อกรองต้องทำให้ใหญ่ไว้ก่อนและถูกต้องตามหลักเกณท์เพื่อเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ที่จะมาย่อยสลายขี้ปลา เพื่อให้น้ำมีคุณภาพดี

          น้ำ ก็สำคัญอีกเหมือนกันน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พต้องเป็นน้ำที่ไม่มีคลอรีน ถ้าเป็นน้ำประปาก็ให้กักน้ำไว้ 2 คืนจึงจะปลอดภัยกว่าก่อนที่จะนำมาเลี้ยงปลาทุกชนิด แต่ถ้าเป็นแค่การเติมน้ำลงบ่อเลี้ยงก็เติมได้ไม่ควรเกิน 10% ส่วนน้ำบาดารสามารถน้ำมาเลี้ยงได้เช่นกัน ควรดูบริเวนใกล้เคียงว่ามีการทิ้งฝังสารพิษหรือไม่เพราะการดูดน้ำบาดารมาใช้อาจมีการปนเปื้อนของสารพิษได้เช่นกัน ปลาแฟนซีคาร์พเมื่อโดนคลอรีนจะสังเกตุเห็นอาการซึมก่อนและจะว่ายแบบไม่มีแรงครีบจะหุบ หลังปลาแฟนซีคาร์พจะลอยติดผิวน้ำ สักพักจะมีอาการช็อคคือปลาจะพุ่งตัวไปข้างหน้าบ่อยๆ การแก้ไข ให้นำปลามาใส่ไว้ในน้ำที่ไม่มีคลอรีน ไส่เกลือ 1ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร ใส่ไบโอน๊อค เบอร์3 10 หยด และใส่ออกซิเจน แช่ไว้จนกว่าปลาจะพื้น จึงนำไปเลี้ยงในบ่อที่ปราศจากคลอรีน

          อากาศ เป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงหลายคนมักมองข้าม เพราะคิดว่าปลาแฟนซีคาร์พอยู่ในบ่อดินไม่เห็นต้องให้อากาศเพิ่มเลย เนื่องจากในธรรมชาติมีการแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซต์เป็นออกซิเจน โดยพืชน้ำในตอนกลางวันปลาจึงไม่ลอยให้เห็น แต่ตอนกลางคืนปลาบ่อดินก็ลอยหัวเพราะออกซิเจนจะบางลงเนื่องจากพืชและสัตว์ต่างใช้ออกซิเจนพร้อมกัน แต่ในบ่อปูนมีความเป็นธรรมชาติน้อยกว่า และคนส่วนใหญ่จะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พไว้หลายตัวจึงจำเป็นต้องเพิ่มออกซิเจนในบ่อเพื่อให้ปลาอยู่อย่างสบาย อาการปลาขาดอากาศจะว่ายลอยหัวอ้าปากเอาปากหายใจ เพราะเหงือกไม่สามารถเอาออกซิเจนจากน้ำมาใช้ได้ แก้ด้วยการเพิ่มออกซิเจนลงไปในน้ำโดยใช้ปั๊มลม หรือการทำให้เกิดการตกของน้ำกระทบผิวน้ำในบ่อให้เกิดฟองอากาศ ถ้าปล่อยให้เกิดการขาดออกซิเจนนานๆ ปลาจะตายหรือทำให้ปลามีอาการเหงือกบานปลาก็จะไม่สวยงานเหมือนเก่า

          อาหาร ที่ใช้เลี้ยงถ้าเป็นไปได้ก็ให้เลี่ยงอาหารสด เพราะในอาหารสดเช่น กุ้ง ไรทะเล หนอนแดง หนอนนกฯลฯ มักจะมีเชื้อโรค และปรสิตติดมาด้วย ให้ใช้อาหารเม็ดลอยน้ำให้เลือกที่ไม่เก็บไว้เก่าแล้วนำมาขาย หีบห่อต้องไม่ฉีกขาดไม่ถูกว่างตากแดดจนสีซีด ไม่ต้องซื้อมาเยอะจนเก็บใว้นานปลาถึงจะกินหมด ทั้งหมดที่ว่ามาเพื่อเลี่ยงการเกิดโรคจากอาหาร และการให้อาหารก็ควรให้ไม่มากเกินไปให้กินให้หมดภายใน 5นาทีในการให้ครั้งสุดท้ายในแต่ละมื้อ และวันหนึ่งควรให้แค่ 2 มื้อเช้ากับเย็น แนะให้เสริมอาหารจากธรรมชาติ เช่น กล้วยน้ำหว้า แตงโม ผักกาดหอม ฯลฯ ให้เอากล้วยน้ำหว้า 6 ลูกอาหาร 1 กก.ขย่ำเข้าด้วยกันใส่ วิตามินซี วิตามินรวม ด้วยก็จะยิ่งดี เก็บแช่ตู้เย็นไว้ถ้าให้ไม่หมดในมื้อแรก ถ้าปลาน้อยหรือมากก็ลดหรือเพิ่มสัดส่วนไปตามความเหมาะสม วิตามินซียังช่วยให้ปลาขาวและบำรุงสมองปลาอีกด้วย

          การซื้อปลาแฟนซีคาร์พใหม่ จะไม่กล่าวถึงวีธีเลือกปลาแฟนซีคาร์พตามหลักเกณท์การดูปลาตามสายพันธ์ จะพูดแต่ว่าการดูปลาที่ไม่เป็นโรค ให้ดูปลาแฟนซีคาร์พที่แข็งแรงว่ายเร็วจับยาก หลังไม่รีบ เกร็ดไม่หลุดหรือมีรอยแดงๆ เหงือกไม่เปิด ตาไม่ขุ่น ตามตัว ครีบ หาง ไม่มีรู ไม่ตกเลือดตามครีบต่างๆ ทั้งหมดก็เพื่อป้องกันการซื้อมาแล้วเอามาตายจะได้ไม่เสียใจทีหลัง

          การนำปลาแฟนซีคาร์พมาเลี้ยงเพิ่มในบ่อ ขั้นตอนนี้อย่ามองข้ามเด็ดขาด เพราะทำให้ปลาแฟนซีคาร์พตายยกบ่อมาเยอะแล้ว เนื่องจากปลาที่มาใหม่นำโรคมาแพร่ เมื่อนำปลามาใหม่อันดับแรกคือ แยกเลี้ยงไว้ต่างหาก 15 วัน โดยเลี้ยงไปตามปรกติเหมือนบ่อเลี้ยงจริง และใส่ยา เช่น ดิมิลิน ฟอมาลีน ด้วย 7 วันเปลี่ยนน้ำให้อาหารนิดหน่อยทิ้งไว้ 1 วัน ถ่ายน้ำแล้วทำเหมือนทีแรก ให้ดูอาการปลาทุกวันว่ามีตัวไหนออกอาการป่วยให้แยกไปรักษาอีกที ถ้ามีปลาป่วยในวันใดก็ตามให้เริ่มต้นการปลาที่มาใหม่อีกครั้ง เนื่องจากเชื้อโรคได้เริ่มแพร่พันธุ์แล้วให้ใช้ยาตามโรคที่พบทั้งปลาที่แยกไปรักษาและปลาที่ยังต้องกักไว้ดูอาการ ที่ต้องทำอย่างนี้เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลังเพราะเราควบคุมบ่อเลี้ยงไว้ดีอยู่แล้ว อย่างน้อยถ้ามีเห็บปลาหรือหนอนสมอติดมาก็จะถูกกำจัดไปในขั้นตอนนี้ไม่ไปแพร่ในบ่อเลี้ยงใหญ่ และยังมีอีกวิธีหนึ่งที่พ่อค้าปลาบางรายใช้เมื่อนำปลาใหม่มาไม่ว่าจะเป็นปลาแฟนซีคาร์พไทยหรือปลาแฟนซีคาร์พนอก ได้แก่ การช็อคเกลือ คือการเอาเกลือผสมน้ำอย่างเข้มข้นแล้วนำปลาแฟนซีคาร์พลงไปจุ่มประมาณ 20-30 วินาที โดยประมาณ ปลาแฟนซีคาร์พที่ถูกจุ่มลงไปจะขับเมือกเก่าออกมาเชื้อโรคที่ติดมากับตัวปลาก็จะออกไปด้วย แต่วิธีนี้จะใช้ต้องระวังเพราะถ้าจุ่มนานเกินไปปลามีโอกาศที่จะไม่พื้นเหมือนกัน

          อุปกรณ์ของตกแต่งในบ่อเลี้ยง ก็สำคัญ ควรที่จะไม่ให้มีคมหรือเหลี่ยม ถ้าเป็นไปได้ในบ่อเลี้ยงไม่ควรมีอะไรเลย แม้กระทั้งหัวพ่นน้ำก็ควรให้พ่นเหนือน้ำแต่ถ้าไว้ในน้ำก็ควรลบคมไว้ให้ดี เพราะปลาแฟนซีคาร์พชอบว่ายน้ำเล่นบางที่การที่ว่ายเร็วเพราะตกใจ หรือจากการไล่จับเพื่อเชยชม ก็อาจทำให้ปลาเกิดบาดแผลได้และก็จะเกิดเป็นโรคตามมาอีกด้วยเช่นกัน และอุปกรณ์ทุกชนิดควรแยกใช้โดยเด็ดขาดได้แก่กระชอนปลาป่วย กระชอนปลาดี กระชอนปลาตู้ กะละมังใส่ปลาป่วยไม่เอามาใส่ปลาดี เป็นต้น

          เรื่องความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ หรือเรื่องน้ำเขียว มีแอมโมเนียและไนไตรทในน้ำเรื่องนี้อย่าไปวิตกกังวลมากนัก ถ้าอ่านหนังสือวิชาการมากๆ เดี๋ยวทำให้ไม่อยากเลี้ยงเอาง่ายๆ ค่า phของน้ำที่เหมาะสมกับปลาแฟนซีคาร์พอยู่ที่ 7.0-7.5 คือมีสภาพเป็นกลางหรือด่างอ่อนๆ การแก้ความเป็นกรดด่างแบบง่ายๆ ไม่ต้องไปใช้เคมีอะไรให้วุ่นวายก็คือการค่อยๆ ไล่น้ำออกใส่น้ำใหม่ที่ไม่มีคลอรีนปล่อยล้นไปเรื่อยๆ จะให้ดีก็ล้างบ่อกรองบ่อแรกไปเลยที่เดียว คิดกันง่ายๆ ถ้าปลาได้น้ำใหม่จะทำให้ปลาชอบหรือทำให้ปลาตายเป็นการเพิ่มคุณภาพน้ำทางที่ดีที่สุดเลยทีเดียว

 สรุปปัจจัยที่ได้กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น เช่น บ่อเตรียมไม่ดี น้ำเดรียมไม่ดี อาหารให้มากเกินไปก็ทำให้น้ำเสียระบบกรองกรองไม่ทัน เอาปลาเป็นโรคมาเลี้ยงรวมเหล่านี้ล้วนต้องป้องกันไว้ก่อน และควรเอาใจใส่หมั่นสังเกตุอาการปลาอยู่ตลอดเวลาว่าปลามีอาการซึมไม่กินอาหารบ้างหรือป่าว ตัวเป็นแผลหรือไม่ ถ้าเป็นรีบแก้ไขโดยทันที คนที่เลี้ยงบางคนที่พบมาพอปลาตัวโปรดของตัวเองเกิดตายขึ้นมา ก็เลยทำให้หมดกำลังใจที่จะเลี้ยงทั้งๆที่ปลาที่เหลือก็ยังมีอีกมากมาย ผมถึงว่าถ้าเรามีการเตรียมพร้อมที่ดีศึกษาทำความเข้าใจถึงการดูแลปลาแฟนซีคาร์พก่อนแล้วลงมือเลี้ยง พอปัญหามาเจอกับตัวถึงจะไม่เคยก็ยังถือว่าได้ศึกษามายังไงก็ยังแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ไว้ก่อน แล้วก็ค่อยไปถามผู้ที่เชี่ยวชาญอีกที่แต่ถ้าสำเร็จก็จะยิ่งเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงมากขึ้นไปอีก

         


ติดต่อพวกเรา
koithai@hotmail.com